ยินดีต้อนรับประเภนีท้องถิ่นภาคอีสาน     
เมนูหลัก
หน้าแรก
ประเภณีบุญบั้งไฟ
ประเภณีผีตาโขน
ประเภณีไหลเรือไฟ
ประเภณีบุญข้าวสาก
ประเภณีแห่นางแมว
 
เว็บไซต์ที่หน้าสนใจ
ดูวิดิโอยูทูป
สืบค้นข้อมูล
เฟซบุ๊ก
นางิ้ววิทยาสรรค์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผีตาโขน


ประเพณีผีตาโขน เป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่โบราณ จะมีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่มี “บุญหลวง” เป็นบุญพระเวสสันดรและบุญบั้งไฟรวมกันนับเป็นเวลานานหลายร้อยปี หรืออาจจะมีตั้งแต่เมื่อครั้งพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย




การละเล่นผีตาโขน "ผีตาโขน” เป็นคำที่เรียกชื่อ การละเล่นชนิดหนึ่ง ที่ผู้เล่นต้องสวมหน้ากากที่วาดหรือแต้มให้หน้ากลัว โดยชุดแต่งผีตาโขนใช้ผ้าเก่า ผ้ามุ้ง หรือใช้เศษผ้านำมาห่อหุ้มร่างกายให้มิดชิด ซึ่งจะร่วมเข้าขบวนแห่และแสดงท่าทางต่าง ๆ ระหว่างที่มีประเพณีบุญหลวง เป็นการละเล่นที่มีเฉพาะในท้องที่อำเภอด่านซ้ายเท่านั้น คำว่า “ผีตาโขน” ความหมายเดิมไม่แน่ชัดเท่าที่สืบทราบแต่เพียงว่าเป็นผีที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัวจากการที่สอบถามร่างทรง "เจ้ากวน” ผีตาโขนมาจากคำว่า"ผีตามคน” คนเข้ามาขออาหาร



การเล่น "ผีตาโขน” ของชาวอำเภอด่านซ้ายมีความเชื่อว่า ประการแรก เล่นเพื่อถวายดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจในการปกครองสูงสุดในเมืองด่านซ้าย ประการที่สองเล่นเพื่อร่วมขบวนแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง อันเป็นความเชื่อทางพุทธศาสนา ประการที่สาม เล่นเพื่อร่วมขบวนในการแห่บุญเดือนหก (บุญบั้งไฟ) และการแห่ขอฝน ประการที่สี่ เล่นเพื่อความสนุกสนาน ประการสุดท้าย เล่นเพื่อให้สิ่งที่ไม่ดีที่เคยกระทำด้วยกาย วาจา ใจ รวมถึงโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ให้ติดไปกับผีตาโขน โดยการนำไปล่องลำน้ำหมัน เป็นการเสร็จสิ้นพิธีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน

 

 

 

 

จัดทำโดย
เด็กชายจักรรินทร์ โหรี ชั้น ม.3/1 เลขที่ 3
โรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์
องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น