|
ประวัติ การทำบุญข้าวสาก นิยมทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นประจำทุกปี ที่เรียกว่า “บุญข้าวสาก” เนื่องจากเมื่อจัดทำข้าวปลาอาหาร และเครื่องไทยทานต่าง ๆ อุทิศให้ ผู้ล่วงลับไปแล้ว จะทำสากหรือสลาก มีคำอุทิศส่วนกุศลใส่กระดาษบันทึกชื่อ ผู้มีจิตศรัทธาบริจาค และความประสงค์ว่าจะบริจาคทานให้แก่ผู้ใด โดยบอกชื่อผู้ที่จะ มารับส่วนกุศลด้วย บุญข้าวสากหรือสลาก เป็นการทำบุญอย่างหนึ่งของประเพณีสิบสองเดือน หรือ “ฮิตสิบสอง” (ฮีต มาจากคำว่า จารีต ฮีตสิบสอง คือ จารีตประเพณีสิบสองเดือน) ของชาวอีสาน |
โดยมีจุดประสงค์สำคัญ เพื่อมุ่งอุทิศส่วนกุศลให้ญาติสนิท เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย บิดา มารดา สามี ภรรยา พี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว และอาจอุทิศให้ เปรตทั่วไปด้วย ก่อนถึงกำหนดวันทำบุญข้าวสาก คือ ราววันขึ้น 13 – 14 ค่ำ เดือนสิบ |
ชาวบ้าน จะเตรียมอาหารชนิดต่าง ๆ มีทั้งข้าว เนื้อ ปลา ข้าวเม่า ข้าวพอง ข้าวตอก ขนม และอาหารคาวหวานอื่น ตลอดจนผลไม้ต่าง ๆ ไว้สำหรับทำบุญ สำหรับข้าวเม่า ข้าพอง และข้าวตอกนั้น จะคลุกเข้ากันโดยใส่น้ำอ้อย น้ำตาล ถั่วงา มะพร้าว ให้เป็นข้าวสาก (ข้าวกระยาสารท) แต่บางท้องถิ่นไม่นำข้าวเม่า ข้าพอง และข้าวตอก มาคลุกเข้าด้วยกัน คงแยกไปทำบุญเป็นอย่าง ๆ เมื่อเตรียมสิ่งของทำบุญเรียบร้อย แล้ว ชาวบ้านจะเอาข้าวปลาอาหารที่มีอยู่ไปส่งญาติพี่น้องและผู้รักใคร่นับถือ อาจส่งก่อนวันทำบุญหรือส่งในวันทำบุญเลยก็ได้ สิ่งของเหล่านี้มักแลกเปลี่ยนกัน ไปมา ระหว่างญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เรือนเคียง ถือว่าเป็นการได้บุญ |
|