ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
การออกแบบเว็บไซต์
ภาษา html
การจัดรูปแบบเอกสาร
การจัดรูปแบบตัวอักษร
การใส่รูปภาพลงในเว็บเพจ
การสร้างตาราง
การเชื่อมโยงเว็บเพจ
การใส่ไฟล์มัลติมีเดีย
แบบทดสอบหลังเรียน



  สาระสำคัญ

          การจัดการเกี่ยวกับตัวอักษร จะกล่าวถึงเรื่องกำหนดรูปแบบตัวอักษร, การกำหนดลักษณะของแบบอักษร,
การกำหนดขนาดตัวอักษร,การใช้อักขระพิเศษ, และการกำหนดสี



  ผลการเรียนรู้

1. อธิบายถึงคำสั่งในการจัดรูปแบบตัวอักษร เช่น การกำหนดตัวอักษร,ลักษณะตัวอักษร,ขนาดตัวอักษร,
และสีตัวอักษร
2. อธิบายรูปแบบของคำสั่งต่างๆ ใช้ในการจัดรูปแบบตัวอักษรได้
3. สามารถแทรกตัวอักษรอักขระพิเศษลงในเอกสารได้
4. สามารถจัดรูปแบบให้กับเอกสารให้ตรงตามที่ต้องการได้



1.  คำสั่งในการจัดรูแบบตัวอักษร

             การจัดการเกี่ยวกับตัวอักษรในที่นี้จะกล่าวเรื่อง การกำหนดแบบตัวอักษร, การกำหนดลักษณะ
ของแบบตัวอักษร, การกำหนดขนาดตัวอักษร,การใช้อักขระพิเศษ,และการกำหนดสี ซึ่งมีแท็กคำสั่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

<font face>   กำหนดแบบตัวอักษร (Font Type)
<b> กำหนดตัวอักษรหนา (bold)
<i>   กำหนดอักษรตัวเอน (Italic)
<u>    กำหนดขีดเส้นใต้ตัวอักษร (Underline)
<tt> กำหนดตัวอักษรพิมพ์ดีด (Typewriter)
<s> กำหนดขีดเส้นพาดทับกลางตัวอักษร (strikethrough)
<sub>    กำหนดลักษณะของตัวห้อย (subscript)
<sup>  กำหนดลักษณะตัวยก (superscript)
<big>  กำหนดลักษณะอักษรตัวโต (Big)
<small>  กำหนดลักษณะของอักษรตัวเล็ก (Small)
<em> กำหนดให้เป็นการเน้นข้อความ  (Empphasized text)
<strong>  การกำหนดให้ข้อความข้อความนั้นสำคัญ (lmportant text>
<mark>  การกำหนดให้เน้นข้อความด้วยแถบสี (Highlighted text)
<q> การกำหนดแสดงข้อความในเครื่องหมายคำพูด (Quotatation)
<del> การกำหนดลักษณะการขีดฆ่าข้อความ
<ins> กำหนดลักษณะการแทรกข้อความ
<font size> กำหนดขนาดตัวอักษร(Font Size)
<basefont size> กำหนดขนาดพื้นฐานของตัวอักษร (Base Font)
<body bgcolor> กำหนดสีพื้นของเอกสาร
<body text>  กำหนดตัวอักษรทั้งเอกสาร

        1.1 การกำหนดแบบตัวอักษร (Font Type)

              เป็นการกำหนดการแสดงรูปแบบตัวอักษรบนจอภาพ ให้แตกต่างไปจากแบบตัวอักษรที่ตั้งเป็นค่าปกติ
ของโปรมแกรมเว็บเบราว์เซอร์ เพื่อให้มีความหลากหลายของรูปแบบตัวอักษรมากกว่า 1 รูปแบบ บนจอภาพ
ของเว็บเบราว์เซอร์ แบบตัวอักษรหรือที่เรียกว่า ฟอนต์(Font) นั้นควรกำหนดมาจากฟอนต์ที่ถูกติดตั้งมากับ
ระบบปฏิบัติการและหากเป็นอักษรภาษาไทย ก็ควรที่จะเลือกฟอนต์ที่ลงท้ายด้วย UPC หรือ New ตัวอย่างแบบอักษร
เช่น AngsanaUPC, Arial Black, Bookman Old Style, Comic Sans MS, Cordia New เป็นต้น

             รูปแบบกำหนดแบบตัวอักษร

<font face ="ชื่อฟอนต"> ข้อความ… </font>


แต่ถ้าต้องการระบุมากกว่า 1 ชื่อฟอนต์ ให้กำหนดรูปแบบเป็น


<font face ="ชื่อฟอนต์1","ชื่อฟอนต์2",…> ข้อความ…</font>

             ซึ่งหมายถึงว่าโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ไม่มีชื่อฟอนต์ 1 ก็จะนำชื่อฟอนต์ 2 และชื่อฟอนต์ที่กำหนดต่อมา
ใช้ตามลำดับตัวอย่างการกำหนดแบบตัวอักษร


<!DOCTYPE html>
<html>
<head>
<title> font face </title >
</head>
<body>

<font face ="Angsana New"> ตัวอักษรแบบ Angsana New </font><br>
<font face ="Tahoma"> ตัวอักษรแบบ Tahoma </font><br>
<font face ="Comic Sans MS"> ตัวอักษรแบบ Comic Sans  MS </font><br>
<font face ="Cordia UPC"> ตัวอักษรแบบ Cordia UPC  </font><br>

</body>
</html>


ผลที่ได้บนเว็บเบราว์เซอร์