ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
การออกแบบเว็บไซต์
ภาษา html
การจัดรูปแบบเอกสาร
การจัดรูปแบบตัวอักษร
การใส่รูปภาพลงในเว็บเพจ
การสร้างตาราง
การเชื่อมโยงเว็บเพจ
การใส่ไฟล์มัลติมีเดีย
แบบทดสอบหลังเรียน

สาระสำคัญ      

         ไฟล์มัลติมีเดีย (Multimedia) เป็นไฟล์สื่อผสมที่สามารถแสดงผลได้ทั้งภาพและเสียง โดยอาจจะเป็น
ไฟล์ออดิโอ (Audio) หรือไฟล์เสียงที่แสดงเฉพาะเสียงอย่างเดียว เช่น ไฟล์เพลง ไฟล์เสียงคำบรรยาย ที่มักเรียกกันว่า
คลิปเสียง หรืออาจเป็นไฟล์วิดีโอ (Video) ที่แสดงได้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียงพร้อมกัน ที่มักเรียกกันว่า คลิปวิดีโอ 
ซึ่งทั้งออดิโอและวิดีโอ นี้กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของเว็บไซต์สมัยใหม่

ผลการเรียนรู้

      1. บอกความหมายของไฟล์มัลติมีเดียได้
      2. อธิบายถึงหลักการพื้นฐานของมัลติมีเดียใน HTML ได้
      3. อธิบายชนิดของไฟล์มัลติมีเดียได้
      4. เรียนรู้ถึงวิธีการใส่ไฟล์มัลติมีเดียลงในเว็บเพจและอธิบายรูปแบบคำสั่งที่ใช้ได้
      5. เรียนรู้ถึงการเตรียมการสำหรับเบราว์เซอร์รุ่นเก่า
      6. สามารถใส่ไฟล์มัลติมีเดียลงในเว็บเพจได้ตามต้องการและสามารถใช้งานได้กับเบราว์เซอร์ทั้งรุ่นเก่าและใหม่

1. ไฟล์มัลติมีเดียคืออะไร?

          ไฟล์มัลติมีเดีย (Multimedia)  เป็นไฟล์สื่อผสมที่สามารถแสดงผลได้ทั้งภาพและเสียงโดยอาจจะเป็นไฟล์ออดิโอ
(Audio) หรือไฟล์เสียงที่แสดงเฉพาะเสียงอย่างเดียว เช่น ไฟล์เสียงคำบรรยาย  ไฟล์เพลง  ไฟล์สนทนา ที่มัก
เรียกกันว่า  คลิปเสียง เป็นต้น หรืออาจเป็นไฟล์วิดีโอ (Video)  ที่แสดงได้ทั้งภาพและเสียงพร้อมกัน ที่มักเรียกกันว่า  คลิปวิดีโอ

           ทั้งออดิโอและวิดีโอนี้กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของเว็บไซต์สมัยใหม่  หลายเว็บไซต์ใช้ออดิโอและวิดีโอ เป็นเนื้อหาหลักของเว็บ เช่นเดียวกับที่ข้อความและรูปภาพเคยเป็น ในเว็บรุ่นเก่าก่อนๆ 
 


เว็บไซต์ www.youtube.com ที่เน้นการดูวิดีโอเป็นหลัก

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=9DwzBICPhdM

2. หลักการพื้นฐานของมัลติมีเดียใน HTML

           วิธีการทั่วไปที่จะใส่ไฟล์มัลติมีเดียลงในหน้าเว็บเพจก็คือ การฝังคลิปเสียงหรือคลิปวิดีโอนั้น ลงในหน้าเว็บเพจ
ซึ่งมันจะแสดงผลอยู่ในหน้าเว็บเพจนั้น เมื่อผู้เยี่ยมชมคลิปที่ปุ่มที่กำหนดแต่การที่จะแสดงผลได้นั้นเว็บเบราว์เซอร์ที่ผู้
เยี่ยมชมใช้อยู่นั้นจะต้องรองรับชนิดของไฟล์เสียงหรือวิดีโอนั้นๆ ด้วยหรือไม่ก็ต้องทำการดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม
เสริมที่รียกว่า
Plug-in หรือ helper เพื่อช่วยเสริมให้สามารถแสดงผลไฟล์ชนิดนั้นๆ ได้ หากผู้เยี่ยมชมของเราใช้
เว็บเบราว์เซอร์ Internet Explorer 5.5 หรือสูงกว่าเราสามารถใช้แท็กคำสั่ง <object> เพื่อการนี้ได้มิฉะนั้นแล้ว
เราควรจะใช้ในคำสั่ง <embed> แทน แต่ถ้าหากผู้เยี่ยมชมใช้เว็บเบราว์เซอร์ที่รองรับ HTML5 เราสามารถใช้แท็ก
คำสั่ง <audio> และ <video> ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ได้เลย

           อีกวิธีการหนึ่งก็คือ การสร้างการเชื่อมโยงไปยังคลิปเสียงหรือวิดีโอที่ต้องการ เพื่อให้แสดงผล ด้วยโปรแกรม
ภายนอก เช่น Windows Media Player  เมื่อผู้เยี่ยมชมคลิปที่จุดเชื่อมโยงนั้น ในการทำเช่นนี้ผู้เยี่ยมชมก็จะต้องมี
โปรแกรม ภายนอกนั้นติดตั้งอยู่ในระบบของเขาด้วย ซึ่งการสร้างจุดเชื่อมโยงนี้จะเหมือนกันในทุกเบราว์เซอร์
โดยใช้แท็กคำสั่ง <a> เช่นเดียวกับการสร้างจุดเชื่อมโยงอื่นๆ ตัวอย่างเช่น


        <a href= "mysong.mp3"> Playing my song! </a>

ปลั๊กอิน(plug-in)
       เป็นไฟล์ควบคุมการแสดงผลในลักษณะของภาพและเสียงที่ทำการฝังตัวเองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม
เบราว์เซอร์และไฟล์เหล่านี้จะถูกเรียกใช้โดยอัตโนมัติเมื่อเราเรียกใช้โปรแกรมเบราว์เซอร์

เฮลเปอร์ (Helper Application)
       เป็นโปรแกรมควบคุมการแสดงผลที่แยกเป็นอิสระไม่ฝังตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมเบราว์เซอร์และจะถูก
เรียกใช้เมื่อโปรแกรมเบราว์เซอร์ต้องการ แก้ไขปัญหาในกรณีที่โปรแกรมเบราว์เซอร์ ไม่รู้จักและไม่สามารถแสดผลได้
โปรแกรมเบราว์เซอร์จะทำการค้นหาโปรแกรมที่ถูกกำหนดไว้ โดยผู้ใช้ในส่วนที่เรียกว่า เฮลเปอร์ (Helper)
เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว